วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

"อีแร้ง" ไปไหน ??


      เมื่อก่อนนั้นภาคอีสานเราก็ถือว่ามีอีแร้งเยอะมาก อีแร้งเป็นสัตว์ปีกที่มีขนาดใหญ่และกินซากสัตว์ที่ตายหรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยแล้วเป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่มีประโยคต่อมนุษนย์ทางอ้อม
       
     อีแร้งที่เคยพบเจอในภาคอีสานก็มีอยู่ ๒ จำพวก พวกหนึ่งเรียกว่าพญาแร้ง ลักษณะลำตัวใหญ่ มีขนสีดำสนิท อกจะแดงและส่วนหัวก็แดง (ภาษาอีสานเรียกว่า "แฮ้งคอดำ") พวกนี้จะยืนอยู่ห่างๆ จากอาหารหรือซากสัตว์ที่ตายแล้ว จะไม่ค่อยเข้ามาใกล้ ปล่อยให้เพื่อนฝูงกินไปก่อนถ้าเหลือค่อยกิน หรือถ้าไม่เหลือมันก็จะไหล่เหยียบตัวอื่นที่เห็นว่าตัวที่กินได้มาก โดยการเหยียบหลังแล้วให้สำรอกหรือคายเนื้อที่กินออกมา แล้วมันก็ค่อยกิน ส่วนพวกที่ ๒ คือ อีแร้งหม่น (ภาษาอีสานเรียกว่า "แฮ้งอีหม่น") เพราะมีสีหน่มปนเทา ตัวจะเล็กกว่าพญาแล้ง พวกนี้แหละที่โดนเหยียบ เมื่อกินซากศพนั้นหมดแล้วพวกนี้ก็จะบินหนีหายเงียบไป ส่วนมาไม่พบว่านอนอยู่ที่ไหน...ถึงแม้อีแร้งมันจะช่วยจัดการซากศพ และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทางอ้อมก็ตาม ผู้คนส่วนใหญ่ในภาคอีสานก็มีความเชื่อว่า ถ้ามันบินไปเกาะหลังคาบ้านใคร เขาถือว่าบ้านหลังนั้นจะมีเคราะห์ (เว้าตามภาษาบ้านเฮากะตายห่า) จึงต้องนิมนต์พระมาสวดทำบุญบ้านเพื่อไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเกิดขึ้นในครอบครัว แต่นี้ก็เป็นเพียงความเชื่อส่วนหนึ่งเท่านั้น
     
     ระยะหลังๆ มา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ อีแร้งก็ค่อยหายไปทีละน้อยจนกระทั่งไม่หลงเหลือให้เห็นมันอีก สาเหตุก็คือมันไม่มีซากวัวควายกิน เพราะมนุษย์ปัจจุบันไม่ได้ทิ้งซากเหมือนเมื่อก่อน นอกจากจะนำเนื้อหนังมาทำอาหารแล้ว แม้กะทั่งกระดูกก็ยังนำไปขายได้ แม้แต่สุนัขที่ตายในท้องนาก็ไม่เหลือ เพราะโตขึ้นหน่อยก็นำไปแลกครุถัง เพื่อที่จะไปชำแหละขาย ถึงขนาดนี้อีแร้งมันจะกินอะรัย มันก็หนีเตลิดเปิดเปิงอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นกันหมด
       
     ในสมัยนั้น ท่านคงเคยได้ยินว่าประเทศเพื่อนบ้างอย่างกัมพูชามีสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เกิดความเสียหายมหาศาลในระดับประเทศ เสียหายแม้กระทั่งทรัพยากรมนุษย์ ฆ่ากันตายเหมือนผักปลา ทำให้ประชาชนล้มตายเหมือนใบไม้ล่วง ปล่อยซากศพส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว บรรดาอีแร้งเมื่อมันอดอาหารจากบ้านเราแล้วอะไรจะไปเหลือ มนุษย์ก็มนุษย์เถอะ มันจึงไปอยู่ประเทศกัมพูชา เพราะไดมีอาหารพอได้กินบ้าง กระทั่งซากวัวซากควายก็มี เพราะวัวควายกัมพูชามีเยอะ ถ้าคิดๆ แล้วก็เหมือนบ้านเราเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีก่อน และทุกวันนี้เราก็จะแทบไม่พบอีแร้งตามธรรมชาติอีกเลยนอกจากจะอยู่ในกรงหรือสวนสัตว์เท่านั้น...



Admin : บ่าวทุ่งกุลา เรื่องเล่าอีสาน อีศาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น